วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บ้านสุเหร่าบางกะสี



        หมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนา
คุณภาพชีวิต ปี ๒๕๕๖
       บ้านสุเหร่าบางกะสี หมู่ที่ ๙ ตำบลบางปลา 
อำเภอบางพลี  จังหวัดสมุทรปราการ

          ประวัติหมู่บ้าน
           บ้านสุเหร่าบางกะสี  เดิมชื่อหมู่ที่เป็นทางการคือหมู่บ้านคลองสำโรง หมู่ ๙ บางปลา เนื่องจากตั้งอยู่ริมคลองสำโรงซึ่งมีหมู่บ้านที่ริมคลองสำโรงใช้ชื่อเดียวกันหลายหมู่บ้าน แต่ต่อมาชาวบ้านมักจะเรียก บ้านสุเหร่าบางกะสี เพื่อให้จดจำง่ายจึงใช้ชื่อเรียกหมู่บ้าน บ้านสุเหร่าบางกะสี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันบ้านสุเหร่าบางกะสีเป็นหมู่บ้านหนึ่งในจำนวน  ๑๕  หมู่บ้านในตำบลบางปลา อำเภอบางพลีจังหวัดสมุทรปราการ เป็นชุมชนเก่าแก่ยาวนาน มีทั้งชาวไทยมุสลิม และชาวไทยพุทธได้อพยพมาจากถิ่นฐานต่างๆ มาอยู่อาศัย เป็น คนดังเดิมส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนา เลี้ยงปลา เลี้ยงแพะ ค้าขายบาง ตามริมน้ำชายคลอง
     ต่อมาความเจริญมากขึ้นมีหมู่บ้านจัดสรรโรงงานเพิ่มขึ้นประกอบกับมีการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิในพื้นที่ใกล้เคียง มีผู้โดยสารและการขนส่งสินค้ามากขึ้น ประชากรจากท้องที่อื่นเริ่มเข้ามามากขึ้น อาชีพของคนรุ่นใหม่  เป็นข้าราชการ  ทำงานบริษัท   ห้างร้าน และผู้ใช้แรงงานในโรงงาน  มีประชากรแฝงเข้ามามากขึ้น
     ที่ตั้ง อยู่รอบนอกของเกาะบางปลามีถนนเทพารักษ์ตั้งแต่กิโลเมตรที่ ๑๗.๕  ถึงกิโลเมตรที่ ๒๐ผ่านกลางหมู่บ้านมีคลองส่งน้ำและถนนคู่ขนานผ่านด้านข้างหมู่บ้าน (  คลองส่งน้ำสุวรรณภูมิจากถนนบางนา-ตราดไปไปยังถนน สุขุมวิทสายเก่าออกสู่  ทะเลปากน้ำ)ขนาดพื้นที่  ๕ ตาราง กิโลเมตร โดยประมาณ
     อาณาเขต ทิศเหนือ ติดหมู่ที่ ๑ และหมู่ ๙ตำบลบางโฉลง     มีคลองสำโรงเป็นแนวเขต
            ทิศใต้ ติดหมู่ที่ ๖ และ ๗ ตำบลบางปลา        มีคลองลาดหวายเป็นแนวเขต
            ทิศตะวันออก ติด หมู่ ๑และ หมู่ ๑๕ ต บางเสาธง    มีคลองสี่ศอกเป็นแนวเขต
            ทิศตะวันตก ติด หมู่ ๒และ หมู่ ๑๐ ตำบลบางปลา   มีคลองบางปลาเป็นแนวเขต
    ภูมิประเทศ เป็นพื้นที่ลุ่มอยู่ใกล้ทะเล มีลำคลองผ่านคือคลองสำโรงเริ่มจากแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านไปยังแม่น้ำบางปะกง
    สภาพอากาศส่วนใหญ่จะเป็นอากาศร้อน มีฝนและอากาศหนาวในระยะสั้น ๆ พื้นที่เหมาะแก่การทำการเกษตร
    การคมนาคมเดิมที่ชาวบ้านจะใช้ทางน้ำ เป็นเส้นทางคมนาคม ต่อมาความเจริญมากขึ้นมีการขยายถนน คือถนนเทพารักษ์ จากสำโรง ไป อำเภอบางบ่อ และมีเส้นทางผ่านไปยังถนนสายต่างๆ ได้เช่นออกไปยังถนนบางนา – ตราดหรือออกไปยังถนนสุขุมวิทสายเก่าทำให้การเดินทางโดยรถยนต์สะดวกขึ้นประชาชนส่วนใหญ่จึงใช้การคมนาคมทางถนน 
     จำนวนประชากรจำนวน ๔.๖๕๑ คน  แบ่งเป็นชาย ๒.๒๔๔ คน หญิง ๒,๔๐๗ คน
มีสิทธิเลือกตั้ง ๓,๑๕๑ คน รายได้โดยเฉลี่ย  ๖๔,๓๒๖.-บาท/คน/ปี

สถานที่สำคัญ -  ศาสนสถาน ๑ แห่ง คือมัสยิคเก่าแก่  มัสยิคคอยอริยะตุ้ลอิสลามียะห์ (สุเหร่าบางกะสี  - อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ซอยสุเหร่าบางกะสี -/ ศูนย์การเรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดินเฉลิมพระเกียรติ -/  โรงเรียนระดับปฐมศึกษา    แห่ง โรงเรียนสุเหร่าบางกะสี  -/  ศูนย์การเรียนรู้ กศน ระดับตำบล ๑ แห่ง (ศูนย์กศน ตำบลบางปลาตั้งอยู่ในหมู่บ้านสวนเก้าแสน   -/  ห้องสมุดชุมชน 3 แห่ง (สุเหร่าบางกะสี/หมู่บ้านสวนเก้าแสน/ชุมชนโรงเรียนสุเหร่าบางกะสี)   -/  ธนาคาร ๑ แห่ง (ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาเทพารักษ์หน้าหมู่บ้านสวนเก้าแสน) -/  ปั้มน้ำมัน ปั้มแก๊ส  ๑ แห่ง ( ปั้ม ป.ต.ทบางกะสี) - / สนามเด็กเล่น ลานกีฬา มีอยู่ในทุกชุมชน  -  บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ๑,๘๕๔ หลังคาเรือน  โรงงาน๒๕ แห่ง –/ โกดังเก็บของ  ๒๘ แห่ง – /ร้านค้าสถานที่ประกอบการ ๙๐ แห่ง     
                                      
บุคคลสำคัญในหมู่บ้าน                                       

        นายศรีเพชร  แสงสว่าง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน           นายสมเดช ทรัพย์ประเสริฐ   ผู้ใหญ่บ้าน                   นางศิริพร  สวัสดิ์ศุภผล ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
               ที่อยู่ ๑๐๑/๖โทร   ๘๑๓๐๗๓๐๐๒                  ที่อยู่ ๙๙/๖๑ หมู่ ๙ ต.บางปลา อ.บางพลี              ที่อยู่ ๑๕๗/๘๗ โทร ๐๘๙๖๗๕๐๐๖๔





  

ผู้นำศาสนา
-  นายสมศักดิ์  วงค์ประเสริฐ  อิหม่ามประธานคณะกรรมการอิสลามมัสยิดคอยริยะตุ้ลอิสลามมามียะห์(สุเหร่าบางกะสี)
- นายสมควร  ประเสริฐอาภาเหรัญญิก คณะกรรมการอิสลามมัสยิดคอยริยะตุ้ลอิสลามมามียะห์

ผู้ประสานงาน มัสยิด และอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา

นายสมาน  บรฮึม                  คอเต็บและหัวหน้าฝ่ายการศึกษา              

  - นายสุนันท์  วันเฮงและ            บิหลั่น  รองประธานฯ

      

วิสัยทัศน์
หมู่บ้านน่าอยู่ อาคารเฉลิมพระเกียรติงามสง่า
มัสยิดล้ำค่า ชุมชนเข้มแข็ง เยาวชนปลอดยาเสพติด 
ดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง




แนวคิดทางการพัฒนา
-ส่งเสริมพัฒนาคน              -    ส่งเสริมพัฒนาความคิด
-ส่งเสริมพัฒนาองค์ความรู้  -  ส่งเสริมพัฒนาอาชีพ
-ส่งเสริมพัฒนา การดำรงชีวิตภายใต้ ปรัชญา  เศรษฐกิจพอเพียง



การวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาหมู่บ้าน
 บ้านสุเหร่าบางกะสี หมู่ ๙ ตำบลบางปลา เป็นหมู่บ้านที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาดังนี้
ปัญหาและอุปสรรค
              วิธีการแก้ไข
   ความพร้อมของประชาชนในการทำกิจกรรมร่วมกัน  เนื่องจากผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีรายได้จากเงินเดือนไม่มีเวลาว่างในการร่วมทำกิจกรรมเพราะไม่สามารถขาดงานได้
 ๑เลือกผู้ร่วมงานที่มีเวลาว่าง ผู้สูงอายุที่เกษียณอายุ
แม่บ้านที่มีว่าง เลือกทำกิจกรรมในวันหยุดราชการ

๒งบประมาณแต่เนื่องจากทางหมู่บ้านไม่มีงบประมาณและเงินทุนสำรอง

  จัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ขอความร่วมมือจากหน่วยงาน บริษัทห้างร้านในหมู่บ้านประชาชนในหมู่บ้านร่วมกันเสียสละ แรงงาน จัดกิจกรรมอย่างประหยัด พอเพียง
  สถานที่   เนื่องจากพื้นที่ในหมู่บ้านเป็นพื้นที่เอกชน
ไม่มีสถานที่ส่วนกลาง ที่ใช้ร่วมตัวในการทำกิจกรรม
หรือสำนักงานถาวร
   ขอใช้สถานที่ที่เป็นที่ราชการ  สาธารณะ
เช่น โรงเรียน  อาคารสุเหร่า
๔ การสื่อสาร  เนื่องจากเป็นหมู่บ้านใหญ่มีความเจริญมากขึ้นพื้นที่มีถนนกั้นกลางหมู่บ้าน มีหมู่บ้านจัดสรรเพิ่มขึ้นทำให้ไม่สะดวกในการติดต่อสื่อสาร
  ใช้การติดต่อด้วยเอกสาร  / จดหมายเวียน
การติดประกาศ / โทรศัพท์ / ใช้สื่อท้องถิ่น / อินเตอร์เนต
 ๕ยาเสพติด
  ให้ความรู้เด็กเยาวชน /จัดกิจกรรม/ กีฬา
ให้คณะกรรมการหมู่บ้านและผู้ปกครองช่วยสอดส่องดูแล
ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแล
  มลภาวะ

๖ แนะนำอบรม รณรงค์เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมสร้างจิตสำนึกแก่ผู้ที่อยู่ในชุมชน
แนะนำให้รู้จักคัดแยกขยะ / ใช้น้ำชีวภาพย่อยสลาย






 

แนวทางการพัฒนา
1.     การพัฒนาด้านอาชีพ  ในชุมชนมีการพัฒนาอาชีพ สร้างงานสร้างรายได้ สามารถจำหน่ายเป็นรายได้ให้กับครอบครัว และเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ของบ้านสุเหร่าบางกะสี หมู่ที่ 9 นั่นคือ
-          กลุ่มผลิตภัณฑ์ ผ้าไทย มาริสา

 

 

 

 

 

 

-กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมไทย

  -การทำน้ำหมักชีวภาพ

-การแปรรูปเห็ด

-กลุ่มเลี้ยงปลากะชัง

-กลุ่มเกษตรกรปลาน้ำจืด

-กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงแพะ

  2. การพัฒนาด้านทุนของชุมชน การพัฒนาด้านทุนของชุมชนบ้านสุเหร่าบางกะสี หมู่ที่ 9 มีการระดมฝากเงินและมีการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ได้กำหนดไว้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ โดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุน เช่น กองทุนหมู่บ้านและชุมชน กองทุนแม่ของแผ่นดิน กลุ่มกองทุนชุมชนพอเพียง

3.   การพัฒนาด้านการบริหารจัดการชุมชน  ประชาชนในหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการชุมชน โดยให้ความร่วมมือกับผู้นำชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน มีการจัดตั้งกลุ่มงานบริหารจัดการชุมชน เช่น คณะกรรมการหมู่บ้าน

                   จากการดำเนินงานหมู่บ้านต้นแบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้ประชาชนสามารถเข้าแหล่งข้อมูลข่าวสาร การพัฒนาชุมชน ทำให้การขับเคลื่อนด้านการพัฒนามีความต่อเนื่องและสามารถสื่อสารได้หลายช่องทาง ทำให้ชุมชนมีความเข้าใจกันมากขึ้น