นายสมเดชทรัพย์ ประเสริฐผุ้ใหญ่บ้านบ้านสุเหร่าบางกะสีหมู่ที่๙ ตำบลบางปลาอำเภอบางพลี รับมอบเกียรติบัตรรางวัลชนะเลิศหมู่บ้านต้นแบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตจังหวัดสมุทรปราการ ประจำปี2556
วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556
วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556
เบอร์โทรผู้ประสานงานหมู่บ้าน
ติดต่อประสานงานหมู่บ้าน ๐๘๙๙๐๒๙๐๔๓ นายสมเดช ทรัพย์ประเสริฐ ผู้ใหญ่บ้าน ๐๘๑๓๐๗๓๐๐๒ นายศรีเพชร แสงสว่าง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ๐๘๙๖๗๕๐๐๖๔ นางศิริพร สวัสดิ์ศุภผล ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ๐๘๗๐๑๘๖๗๘๕ นายสมควร ประเสริฐอาภา ผู้ประสานงาน ศูนย์การเรียนรู้ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา สุเหร่าบางกะสี
วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ตลาดนัดพอเพียงโรงเรียนสุเหร่าบางกะสี
โรงเรียนสุเหร่าบางกะสี หมู่ที่ 9 ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการจัดตลาดนัดพอเพียง ให้เด็กนักเรียนนำสินค้ามาวื้อขาย
วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ปราชญ์ชาวบ้าน
เพิ่มคำอธิบายภาพ |
ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านสุเหร่าบางกะสี หมู่ที่ 9 ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ รับมอบเกียรติบัตร รางวัลการถ่ายทอดภูมิปัญญาผู้สูงอายุ จากชมรมคลังปัญญาผู้สูงอายุจังหวัดสมุทรปราการ ประจำปี 2556 วันที่ 25 กรกฎาคม 2556 ณ ห้องประชุมเทศบาลนคร สมุทรปราการ
นายสุบิน โพธิ์ ประสิทธิ์ ภูมิปัญญาดีเด่น ด้านภาษาไทย วรรณคดี วรรณศิลป์ |
นางศิริพร สวัสดิ์ศุภผล รางวัลชมเชย ด้านอุตสาหกรรม หัตถกรรม จักสานโอท็อป งานประดิษฐเศษผ้า |
นายจำรัส ปอเงิน รางวัลชมเชย ด้านเกษตร ประดิษฐงานจักสานเครื่องมือจับปลา
|
การมอบรางวัลผู้ใหญ่บ้านดีเด่น อำเภอบางพลี ประจำปี 2556
นายสมเดช ทรัพย์ประเสริฐ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9 ตำบลบางปลา อำเภอบางพลีจังหวัดสมุทรปราการ รับมอบโล่รางวัลผู้ใหญ่บ้านดีเด่นอ.บางพลีประจำปี2556 และเกียรติบัตร รางวัลคณะกรรมการหมู่บ้าน(กม) ดีเด่น อันดับ 2 อำเภอบางพลี ประจำปี2556 จากท่านนายอำเภอบางพลี นาย วิวัฒน์ ฉันทนานุวัฒน์ ในวันที่ 10 สิงหาคม 2556
วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556
การดำเนินงานหมู่บ้านต้นแบบสารสนเทศจังหวัดสมุทรปราการ
คณะกรรมการคัดเลือกต้นแบบหมู่บ้านสารสนเทศ จังหวัดสมุทรปราการ ประจำปี2556ลงพื้นที่หมู่บ้านสุเหร่าบางกะสีเพื่อพิจารณาการดำเนินงานในหมู่บ้านสารสนเทศวันที่ 26กค2556
โดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านและพัฒนากรอำเภอบางพลีให้การต้อนรับ
วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
บ้านสุเหร่าบางกะสี
หมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนา
คุณภาพชีวิต ปี ๒๕๕๖
บ้านสุเหร่าบางกะสี หมู่ที่ ๙ ตำบลบางปลา
อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ประวัติหมู่บ้าน
บ้านสุเหร่าบางกะสี เดิมชื่อหมู่ที่เป็นทางการคือหมู่บ้านคลองสำโรง หมู่ ๙ บางปลา เนื่องจากตั้งอยู่ริมคลองสำโรงซึ่งมีหมู่บ้านที่ริมคลองสำโรงใช้ชื่อเดียวกันหลายหมู่บ้าน แต่ต่อมาชาวบ้านมักจะเรียก บ้านสุเหร่าบางกะสี เพื่อให้จดจำง่ายจึงใช้ชื่อเรียกหมู่บ้าน บ้านสุเหร่าบางกะสี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันบ้านสุเหร่าบางกะสีเป็นหมู่บ้านหนึ่งในจำนวน ๑๕ หมู่บ้านในตำบลบางปลา อำเภอบางพลีจังหวัดสมุทรปราการ เป็นชุมชนเก่าแก่ยาวนาน มีทั้งชาวไทยมุสลิม และชาวไทยพุทธได้อพยพมาจากถิ่นฐานต่างๆ มาอยู่อาศัย เป็น คนดังเดิมส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนา เลี้ยงปลา เลี้ยงแพะ ค้าขายบาง ตามริมน้ำชายคลอง
ต่อมาความเจริญมากขึ้นมีหมู่บ้านจัดสรรโรงงานเพิ่มขึ้นประกอบกับมีการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิในพื้นที่ใกล้เคียง มีผู้โดยสารและการขนส่งสินค้ามากขึ้น ประชากรจากท้องที่อื่นเริ่มเข้ามามากขึ้น อาชีพของคนรุ่นใหม่ เป็นข้าราชการ ทำงานบริษัท ห้างร้าน และผู้ใช้แรงงานในโรงงาน มีประชากรแฝงเข้ามามากขึ้น
ที่ตั้ง อยู่รอบนอกของเกาะบางปลามีถนนเทพารักษ์ตั้งแต่กิโลเมตรที่ ๑๗.๕ ถึงกิโลเมตรที่ ๒๐ผ่านกลางหมู่บ้านมีคลองส่งน้ำและถนนคู่ขนานผ่านด้านข้างหมู่บ้าน ( คลองส่งน้ำสุวรรณภูมิจากถนนบางนา-ตราดไปไปยังถนน สุขุมวิทสายเก่าออกสู่ ทะเลปากน้ำ)ขนาดพื้นที่ ๕ ตาราง กิโลเมตร โดยประมาณ
อาณาเขต ทิศเหนือ ติดหมู่ที่ ๑ และหมู่ ๙ตำบลบางโฉลง มีคลองสำโรงเป็นแนวเขต
ทิศใต้ ติดหมู่ที่ ๖ และ ๗ ตำบลบางปลา มีคลองลาดหวายเป็นแนวเขต
ทิศตะวันออก ติด หมู่ ๑และ หมู่ ๑๕ ต บางเสาธง มีคลองสี่ศอกเป็นแนวเขต
ทิศตะวันตก ติด หมู่ ๒และ หมู่ ๑๐ ตำบลบางปลา มีคลองบางปลาเป็นแนวเขต
ภูมิประเทศ เป็นพื้นที่ลุ่มอยู่ใกล้ทะเล มีลำคลองผ่านคือคลองสำโรงเริ่มจากแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านไปยังแม่น้ำบางปะกง
สภาพอากาศส่วนใหญ่จะเป็นอากาศร้อน มีฝนและอากาศหนาวในระยะสั้น ๆ พื้นที่เหมาะแก่การทำการเกษตร
การคมนาคมเดิมที่ชาวบ้านจะใช้ทางน้ำ เป็นเส้นทางคมนาคม ต่อมาความเจริญมากขึ้นมีการขยายถนน คือถนนเทพารักษ์ จากสำโรง ไป อำเภอบางบ่อ และมีเส้นทางผ่านไปยังถนนสายต่างๆ ได้เช่นออกไปยังถนนบางนา – ตราดหรือออกไปยังถนนสุขุมวิทสายเก่าทำให้การเดินทางโดยรถยนต์สะดวกขึ้นประชาชนส่วนใหญ่จึงใช้การคมนาคมทางถนน
การคมนาคมเดิมที่ชาวบ้านจะใช้ทางน้ำ เป็นเส้นทางคมนาคม ต่อมาความเจริญมากขึ้นมีการขยายถนน คือถนนเทพารักษ์ จากสำโรง ไป อำเภอบางบ่อ และมีเส้นทางผ่านไปยังถนนสายต่างๆ ได้เช่นออกไปยังถนนบางนา – ตราดหรือออกไปยังถนนสุขุมวิทสายเก่าทำให้การเดินทางโดยรถยนต์สะดวกขึ้นประชาชนส่วนใหญ่จึงใช้การคมนาคมทางถนน
จำนวนประชากรจำนวน ๔.๖๕๑ คน แบ่งเป็นชาย ๒.๒๔๔ คน หญิง ๒,๔๐๗ คน
มีสิทธิเลือกตั้ง ๓,๑๕๑ คน รายได้โดยเฉลี่ย ๖๔,๓๒๖.-บาท/คน/ปี
สถานที่สำคัญ - ศาสนสถาน ๑ แห่ง คือมัสยิคเก่าแก่ มัสยิคคอยอริยะตุ้ลอิสลามียะห์ (สุเหร่าบางกะสี - อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ซอยสุเหร่าบางกะสี -/ ศูนย์การเรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดินเฉลิมพระเกียรติ -/ โรงเรียนระดับปฐมศึกษา ๑ แห่ง โรงเรียนสุเหร่าบางกะสี -/ ศูนย์การเรียนรู้ กศน ระดับตำบล ๑ แห่ง (ศูนย์กศน ตำบลบางปลาตั้งอยู่ในหมู่บ้านสวนเก้าแสน -/ ห้องสมุดชุมชน 3 แห่ง (สุเหร่าบางกะสี/หมู่บ้านสวนเก้าแสน/ชุมชนโรงเรียนสุเหร่าบางกะสี) -/ ธนาคาร ๑ แห่ง (ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาเทพารักษ์หน้าหมู่บ้านสวนเก้าแสน) -/ ปั้มน้ำมัน ปั้มแก๊ส ๑ แห่ง ( ปั้ม ป.ต.ทบางกะสี) - / สนามเด็กเล่น ลานกีฬา มีอยู่ในทุกชุมชน - บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ๑,๘๕๔ หลังคาเรือน โรงงาน๒๕ แห่ง –/ โกดังเก็บของ ๒๘ แห่ง – /ร้านค้าสถานที่ประกอบการ ๙๐ แห่ง
บุคคลสำคัญในหมู่บ้าน
นายศรีเพชร แสงสว่าง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นายสมเดช ทรัพย์ประเสริฐ ผู้ใหญ่บ้าน นางศิริพร สวัสดิ์ศุภผล ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
ที่อยู่ ๑๐๑/๖โทร ๘๑๓๐๗๓๐๐๒ ที่อยู่ ๙๙/๖๑ หมู่ ๙ ต.บางปลา อ.บางพลี ที่อยู่ ๑๕๗/๘๗ โทร ๐๘๙๖๗๕๐๐๖๔
ผู้นำศาสนา
- นายสมศักดิ์ วงค์ประเสริฐ อิหม่ามประธานคณะกรรมการอิสลามมัสยิดคอยริยะตุ้ลอิสลามมามียะห์(สุเหร่าบางกะสี)
- นายสมควร ประเสริฐอาภาเหรัญญิก คณะกรรมการอิสลามมัสยิดคอยริยะตุ้ลอิสลามมามียะห์
ผู้ประสานงาน มัสยิด และอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา
- นายสมาน บรฮึม คอเต็บและหัวหน้าฝ่ายการศึกษา
- นายสุนันท์ วันเฮงและ บิหลั่น รองประธานฯ
วิสัยทัศน์
หมู่บ้านน่าอยู่ อาคารเฉลิมพระเกียรติงามสง่า
มัสยิดล้ำค่า ชุมชนเข้มแข็ง เยาวชนปลอดยาเสพติด ดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
แนวคิดทางการพัฒนา
-ส่งเสริมพัฒนาคน - ส่งเสริมพัฒนาความคิด
-ส่งเสริมพัฒนาองค์ความรู้ - ส่งเสริมพัฒนาอาชีพ
-ส่งเสริมพัฒนา การดำรงชีวิตภายใต้ ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
การวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาหมู่บ้าน
บ้านสุเหร่าบางกะสี หมู่ ๙ ตำบลบางปลา เป็นหมู่บ้านที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาดังนี้
ปัญหาและอุปสรรค
|
วิธีการแก้ไข
|
๑ ความพร้อมของประชาชนในการทำกิจกรรมร่วมกัน เนื่องจากผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีรายได้จากเงินเดือนไม่มีเวลาว่างในการร่วมทำกิจกรรมเพราะไม่สามารถขาดงานได้
|
๑เลือกผู้ร่วมงานที่มีเวลาว่าง ผู้สูงอายุที่เกษียณอายุ
แม่บ้านที่มีว่าง เลือกทำกิจกรรมในวันหยุดราชการ
|
๒งบประมาณแต่เนื่องจากทางหมู่บ้านไม่มีงบประมาณและเงินทุนสำรอง
|
๒ จัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ขอความร่วมมือจากหน่วยงาน บริษัทห้างร้านในหมู่บ้านประชาชนในหมู่บ้านร่วมกันเสียสละ แรงงาน จัดกิจกรรมอย่างประหยัด พอเพียง
|
๓ สถานที่ เนื่องจากพื้นที่ในหมู่บ้านเป็นพื้นที่เอกชน
ไม่มีสถานที่ส่วนกลาง ที่ใช้ร่วมตัวในการทำกิจกรรม
หรือสำนักงานถาวร
|
๓ ขอใช้สถานที่ที่เป็นที่ราชการ สาธารณะ
เช่น โรงเรียน อาคารสุเหร่า
|
๔ การสื่อสาร เนื่องจากเป็นหมู่บ้านใหญ่มีความเจริญมากขึ้นพื้นที่มีถนนกั้นกลางหมู่บ้าน มีหมู่บ้านจัดสรรเพิ่มขึ้นทำให้ไม่สะดวกในการติดต่อสื่อสาร
|
การติดประกาศ / โทรศัพท์ / ใช้สื่อท้องถิ่น / อินเตอร์เนต
|
๕ยาเสพติด
|
๕ ให้ความรู้เด็กเยาวชน /จัดกิจกรรม/ กีฬา
ให้คณะกรรมการหมู่บ้านและผู้ปกครองช่วยสอดส่องดูแล
ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแล
|
๖ มลภาวะ
|
แนะนำให้รู้จักคัดแยกขยะ / ใช้น้ำชีวภาพย่อยสลาย
|
แนวทางการพัฒนา
1. การพัฒนาด้านอาชีพ ในชุมชนมีการพัฒนาอาชีพ สร้างงานสร้างรายได้ สามารถจำหน่ายเป็นรายได้ให้กับครอบครัว และเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ของบ้านสุเหร่าบางกะสี หมู่ที่ 9 นั่นคือ
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ ผ้าไทย มาริสา
-กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมไทย
-การทำน้ำหมักชีวภาพ
-การแปรรูปเห็ด
-กลุ่มเลี้ยงปลากะชัง
-กลุ่มเกษตรกรปลาน้ำจืด
-กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงแพะ
2. การพัฒนาด้านทุนของชุมชน การพัฒนาด้านทุนของชุมชนบ้านสุเหร่าบางกะสี หมู่ที่ 9 มีการระดมฝากเงินและมีการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ได้กำหนดไว้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ โดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุน เช่น กองทุนหมู่บ้านและชุมชน กองทุนแม่ของแผ่นดิน กลุ่มกองทุนชุมชนพอเพียง
3. การพัฒนาด้านการบริหารจัดการชุมชน ประชาชนในหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการชุมชน โดยให้ความร่วมมือกับผู้นำชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน มีการจัดตั้งกลุ่มงานบริหารจัดการชุมชน เช่น คณะกรรมการหมู่บ้าน
จากการดำเนินงานหมู่บ้านต้นแบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้ประชาชนสามารถเข้าแหล่งข้อมูลข่าวสาร การพัฒนาชุมชน ทำให้การขับเคลื่อนด้านการพัฒนามีความต่อเนื่องและสามารถสื่อสารได้หลายช่องทาง ทำให้ชุมชนมีความเข้าใจกันมากขึ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)